ความเป็นมาข้าวแช่

“ข้าวแช่เป็นอาหารที่สอดรับกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน การทานอาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบจะทำให้ย่อยง่าย ลดอุณหภูมิ และ สร้างความสมดุลภายในร่างกาย”

ข้าวแช่ เป็นอาหารที่มีถิ่นกำเนิดจากชาวมอญในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และใช้ประกอบในเทศกาลสงกรานต์ของชาวมอญ จนถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาว่า ในวันสงกรานต์จะต้องทำข้าวแช่ถวายพระเพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นคนไทยได้รับเอาวัฒนธรรมข้าวแช่ของชาวมอญมา ซึ่งในตอนแรกข้าวแช่จะมีอยู่แค่ในวังเท่านั้น แต่ต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วในหลายจังหวัดของภาคกลาง

ช่วงเวลาที่มีผู้นำข้าวแช่เข้ามานั้นก็ยังไม่สามารถระบุได้แน่ซัตว่าเริ่มเข้าในสมัยใด บางแหล่งข้อมูลก็กล่าวว่า ข้าวแช่ เข้ามาตั้งแต่สมัยรักาลที่ 4 บางแหล่งก็กล่าวว่า เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูล บางแหล่งกล่าวว่า ข้าวแช่เริ่มเข้ามาในวังโดยเจ้าจอมมารดาซอนกลิ่นที่มีเชื้อสายมอญซึ่งถวายงานในรัชกาลที่ 4 ได้ทำข้าวแช่ขึ้นโต๊ะเสวย มีการประดิดประดอย แกะสลักผักเครื่องแนมข้าวแช่ ทำเครื่องประกอบการรับประทานข้าวแช่เพิ่มขึ้น จึงพัฒนาเรียก “ข้าวแช่ชาว” ดั่งคำประพันธ์ในสุนสุนทรภู่ กวีเอกในยุครัตนโกสินทร์ตอนตัน ได้ประพันธ์ว่า “ฤดูร้อนก่อนเก่าทำข้าวแช่ น่าชมแต่เครื่องกับสำรับฉัน ช่างทำเป็นดอกจอกและดอกจันทน์ งามจนชั้นกระชายทำเหมือนจำปา มะม่วงดิบหยิบดูจึ่งรู้จัก ช่างน่ารักทำเป็นเช่นมัจฉา” เนื้อความจาก “รำพันพิลาป” ของสุนทรภู่ รัตนกวีสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้กล่าวถึง “ข้าวแช่” ว่าเป็นของรับประทานในฤดูร้อนที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 โปรดเสวยข้าวแช่มาก เมื่อเสด็จไปประทับที่พระนครศีรี เพชรบุรีทรงถามหาข้าวแช่แต่ไม่มีใครทำเป็น ห้องเครื่องจึงรับชาวบ้านที่สนใจเข้ามาหัดทำแบบง่าย ๆ ไม่ประดิดประดอยอย่างชาววัง ก็ได้ลูกกะปิ ปลายี่สนผัดหวาน ไชโป๊หวานมาเป็นเครื่องข้าวแช่ส่วนหัวหอมยัดไส้ พริกหยวกยัดไส้ และผักนั้นไม่มี ว่ากันว่าผักก็มาเพิ่มสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะมะม่วงดิบซึ่งโปรดมาก

นอกจากนี้ยังมีบางแหล่งข้อมูลกล่วว่า ข้าวแช่ซึ่งแต่เดิมเป็นอาหารของชาวมอญถูกนำมาประยุกต์ให้เป็นอาหารชาววัง เมื่อมีการจัดทำข้าวแช่เสวยถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ทรงโปรดมาก

ทั้งนี้ข้าวแช่ไม่ได้เป็นอาหารที่แพร่หลายเหมือนกับอาหารประเภทอื่น คนทั่วไปจึงมักกล่าวว่า ด้วยความที่การทำข้าวแช่นั้น ต้องมีความละเอียดอ่อน เป็นอาหารชาววัง ด้วยเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำยาก และต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการทำ

ประโยชน์ของข้าวแช่

ข้าวแช่เป็นอาหารที่สอดรับกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน การทานอาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบจะทำให้ย่อยง่าย ลดอุณหภูมิ และ สร้างความสมดุลภายในร่างกาย ช่วยให้คลายร้อน ทำให้ผิวพรรณมีความซุ่มชื่น ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น ผิวแห้ง ปากแตก ท้องผูก เป็นต้น

วิธีทำข้าวแช่ชาววัง

ข้าว

ข้าวแช่ชาววังสูตรดั้งเดิมนั้นจะต้องมีกรรมวิธีตั้งแต่เลือกเม็ดข้าวที่สวย หุงด้วยน้ำใบเตย อบควันเทียน ถ้าเป็นตำรับโบราณแบบดั้งเดิม หุงข้าวสวยแล้วจะต้องนำมาขัดให้ผิวนอกหลุดออกไป เหลือแต่เมล็ดด้านใน

น้ำสำหรับใส่ข้าวแช่

น้ำสำหรับใส่ข้าวแช่ สมัยก่อนนิยมใช้น้ำฝน ใส่ไว้ในคนโทดินเผาหรือตุ่มดินและนำดอกมะลิมาลอยไว้ 1 คืนเพื่อให้มีกลิ่นหอม แต่จะมีบางสูตรที่ลอยด้วยกระดังงาลนไฟบ้าง กุหลาบบ้าง ทั้งนี้ในสมัยก่อนนั้นเมืองไทยยังไม่มีน้ำแข็งใช้ จึงใช้คนโทดินหรือตุ่มดิน ซึ่งช่วยรักษาความเย็นของน้ำไว้และเมื่อถึงเวลารับระทาน คนโบราณจะนำเกล็ดพิมเสนโรยลงไปในน้ำ ซึ่งช่วยให้เกิดความเย็นขึ้นมาด้วย

กับข้าวแช่ ประกอบด้วย

  1. ลูกกะปิทอด (หัวใจสำคัญของกับช้าวแช่) ทำจาก หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด ปลาย่างมะพร้าวคั่ว กะบี่อย่างดี กระชาย ผัดให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อน จากนั้นปั้นเป็นก้อนเล็กๆ แล้วชุบไข่ทอดจนหอม
  2. หรุ่ม หรือ พริกหยวกสอดไส้กุ้ง และเนื้อหมูสันนอกติดมันสับ ปรุงให้รสกลมกล่อม เพิ่มความหอมด้วยการใส่กชีซอยละเอียดก่อนนำไปยัดใส่ในพริกหยวก แล้วนำไปนึ่งจนสุก จากนั้นจึงนำไปห่อต้วยไข่ซึ่งทำเป็นตาข่าย
  3. ไซโป๊ผัด นำหัวไซโป๊มาเคี่ยว แล้วผัดให้แห้ง ใส่น้ำมันน้อยๆ ให้หอมกลิ่นกระทะ
  4. ปลาหวาน ใช้เนื้อปลากระเบนยี่สนแห้งผัดกับน้ำตาลปึกจนเนื้อหนึบ

วิธีทานข้าวแช่

วิธีการทาน ข้าวแช่ให้อร่อยนั้น จะต้องทานกับข้าวของข้าวแซ่ก่อน แล้วค่อยทานชาวแช่ตามไป จะได้ทานข้าวแช่ได้อร่อยนั่นเอง นอกจากนี้จะต้องค่อยๆ กินทีละคำให้รู้ทั้งรสของกับและกลิ่นของข้าว

ที่มา

  • https://www.thairath.co.th/content/596558
  • http://www.misterbuffet.com/article_Kao-Chae.asp
  • https://www.prachachat.net/spinoff/food/news-688
  • https://gmlive.com/thai-food-for-summer-02
  • https://www.adaymagazine.com/articles/aftertaste-wangowit-house
  • http://ww.mediaofthailand.com/review/chwnchimkhawchaechawwangrongraemnowothelsuwrrnphumixaerphxrt
  • https://nearbun.wordpress.com/%E0%B8%AD%6E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%6889682%6E0%B8%A3%E0%6B8%68A%6E0%6B8%68296E09688%6A7%E0%6B8%A7%6E0%6B8%6B196E09688%687/